กระเทียมกับการป้องกันมะเร็ง

กระเทียมกับการป้องกันมะเร็ง

ข้อควรรู้

การศึกษาเบื้องต้นพบว่าการรับประทานกระเทียมช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งหลายชนิดโดยเฉพาะโรคมะเร็ง หลอดอาหาร


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกระเทียม

กระเทียมเป็นพืชตระกูลหัว นิยมนำมาปรุงอาหารเนื่องจากมีกลิ่นเฉพาะตัว กลิ่นฉุนของกระเทียมมีที่มาจากสารประกอบ ซัลเฟอร์ (sulphur) ที่มีชื่อว่า อลิซิน (allicin) ในกระเทียม นอกจากซัลเฟอร์แล้ว กระเทียมยังมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น กรดอมิโน- อาร์จีนีน (argenine) ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) น้ำตาลโมเลกุลกลุ่ม (oligosaccharides) และซีลีเนียม (selenium) ซึ่งมี ประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

อาหารเสริมจากกระเทียมสามารถอยู่ในรูปแบบใดได้บ้าง

แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม

1. น้ำมันกระเทียมผลิตจากการสกัดน้ำมันกระเทียมด้วยไอน้ำ โดยทั่วไปแล้วยาแคปซูลน้ำมันกระเทียมมักผสมน้ำมันพืชด้วย เพื่อลดกลิ่นฉุนของกระเทียม

2. เนื้อกระเทียมแช่น้ำมัน ผลิตโดยนำกลีบกระเทียมแช่น้ำมันพืช แล้วนำมาบรรจุแคปซูล

3. กระเทียมป่น ผลิตโดยนำกระเทียมมาอบแห้งแล้วบดบรรจุขวดใช้ปรุงอาหาร

4. สารสกัดกระเทียม ผลิตโดยใช้แอลกอฮอล์สกัดสารประกอบกระเทียม

 


 

การศึกษาในกลุ่มประชากรตัวอย่างเกี่ยวกับกระเทียมและมะเร็ง

การศึกษาในกลุ่มประชากรตัวอย่างหลายการศึกษา พบความเกี่ยวข้องเกี่ยวกับปริมาณการบริโภคกระเทียมและการลดลง ของความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ตับอ่อน และเต้านม มีการศึกษาถึงเจ็ดการศึกษาบ่งถึงความ สัมพันธ์ระหว่างปริมาณกระเทียมที่รับประทานทั้งชนิดดิบและสุก สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารและ มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

การศึกษาในกลุ่มประชากรตัวอย่างของสถาบันมะเร็งและโภชนาการยุโรป กำลังดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับ โภชนาการต้านมะเร็งในกว่า 10 ประเทศ การศึกษาเบื้องต้นพบว่าการรับประทานหัวหอมและกระเทียมช่วยลดความเสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งลำไส้ลงได้ การศึกษาในกลุ่มประชากรตัวอย่างในไอโอวา ทำการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปแบบการรับประทานอาหาร การกระจายตัวของไขมันและความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งในหญิงสูงวัย พบว่าหญิงสูงวัยที่รับประทานกระเทียมมีโอกาส ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายลดลงถึง 50%

 

การศึกษาในกลุ่มประชากรตัวอย่างในประเทศจีน มุ่งเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระเทียมและการป้องกันมะเร็ง การศึกษาหนึ่งพบว่าการบริโภคกระเทียม หัวหอม และต้นกระเทียมเป็นประจำ สามารถลดโอกาสการเกิดมะเร็งหลอดอาหารและกระเพาะอาหารได้

 

 

นอกจากนี้ยังมีการศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปริมาณการบริโภคหัวหอมและกระเทียมและโอกาสเกิดมะเร็ง โดยกลุ่มที่บริโภคพืชดังกล่าวมากกว่า 10 กรัม/วัน มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่ากลุ่มที่บริโภคพืชดังกล่าว ในปริมาณน้อยกว่า 2.2 กรัม/วัน มีหลักฐานการศึกษาในการศึกษาในซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาบ่งชี้ว่าการบริโภคกระเทียมสามารถลดความเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งตับอ่อนได้ถึง 54%

การศึกษาในฝรั่งเศษ แสดงผลการศึกษาที่น่าสนใจ โดยพบว่าการบริโภคกระเทียมสามารถลดความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็ง เต้านม โดยความเสี่ยงจะลดลงหากบริโภคสารที่มีกากใยสูงร่วมกับพืชกลุ่มกระเทียมและหัวหอม

 

 

มีหลักฐานการวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับกระเทียมและการป้องกันมะเร็งหรือไม่ 

มีการวิจัยอย่างเป็นระบบ 3 การศึกษา ทำการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกระเทียม และความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร การวิจัยแรกเป็นการวิจัยอย่างเป็นระบบในชาวจีน 5,000 คน ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร  ทำวิจัยโดยการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทาน สารอัลลิทริดินสังเคราะห์ (synthetic allitridin) ซึ่ง เป็นสารสกัดจากกระเทียมที่มีใช้กันมานานในประเทศจีน ปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับรับประทานซิลิเนียม (selenium)  ปริมาณ 100 ไมโครกรัมวันเว้นวัน เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยคณะผู้วิจัยทำการติดตามผลเป็นเวลา 5 ปี พบว่ากลุ่มที่ได้รับ สารสกัดอัลลิทริดินและซิลิเนียม มีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในกระเพาะอาหารลดลง 33% และมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง หลอดอาหารลดลงถึง 52% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก การวิจัยอย่างเป็นระบบอีกการวิจัยหนึ่งแสดงผลการศึกษาที่ขัดแย้งกัน 

โดยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดจากกระเทียม ปริมาณ 800 มิลลิกรัม ร่วมกับน้ำมันกระเทียมเป็นประจำทุกวันไม่ลดความชุกของรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร  (precancerous gastric lesion) และไม่ลดอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การวิจัยอย่างเป็นระบบในประเทศญี่ปุ่น เปรียบเทียบผลการบริโภคกระเทียมสกัดปริมาณสูง (2.4 มิลลิลิตร) เทียบกับการบริโภค ในปริมาณที่น้อยกว่า (0.16 มิลลิลิตร) ในกลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกลำไส้ชนิดอดีโนมา (colorectal adenomas) และทำการติดตามผลที่ 6 และ 12 เดือน พบว่ากลุ่มที่บริโภคกระเทียมเสริมปริมาณสูงมีโอกาสเกิดเนื้องอกใหม่น้อยกว่า กลุ่มที่บริโภคกระเทียมสกัดในปริมาณ ที่น้อยกว่า ได้แก่ 47 และ 67% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยพบว่าการใช้สารสกัดกระเทียมทามะเร็งผิวหนังชนิดเบซัล (basal cell carcinoma) พบว่าผู้ป่วย 21 รายที่เข้าร่วมการศึกษา มีก้อนมะเร็งยุบลงหลังทากระเทียมสกัดเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน

 


 

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับกระเทียมและมะเร็ง

การศึกษาวิจัย มีข้อจำกัดด้านการวัดปริมาณและความถี่ในการบริโภคกระเทียมและชนิดของกระเทียมที่บริโภคเป็นการยากที่ จะบอกว่าการรับประทานสารสกัดกระเทียมเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นจะช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งมากที่สุด

จากเหตุผลที่กล่าวมา ทำให้แนวโน้มการวิจัยในอนาคตน่าจะเป็นการวิจัยทดลองอย่างเป็นระบบ (intervention studies) มี การวัดปริมาณและกำหนดชนิดกระเทียมที่บริโภคอย่างเป็นระบบมากขึ้น

 




กระเทียมป้องกันมะเร็งได้อย่างไร

ผลการป้องกันมะเร็งจากกระเทียม สันนิษฐานว่ามาจากฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย หรือจากการยับยั้งการสร้างสารก่อมะเร็ง นอกจาก นี้ยังเพิ่มการซ่อมแซมสารพันธุกรรม และลดการเพิ่มจำนวนเซลล์กระเทียมป้องกันมะเร็งได้อย่างไร

 

เราจะใช้กระเทียมต้านมะเร็งได้อย่างไร

สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ไม่ได้แนะนำการบริโภคอาหารเสริมต้านมะเร็ง แต่กล่าวเกี่ยวกับกระเทียมว่าเป็น พืชชนิดหนึ่งที่อาจมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ โดยปริมาณกระเทียมในผลิตภัณฑ์จากกระเทียมแต่ละชนิดไม่เท่ากันและสารสกัดบางชนิด อาจเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาหรือเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ให้ข้อมูลด้านการส่งเสริมสุขภาพ โดยแนะนำให้รับประทานกระเทียม ที่มีสารอลิซิน (allicin) ในปริมาณ 2-5 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเท่ากับกระเทียมอย่างน้อยหนึ่งกลีบต่อวัน หรือกระเทียมผง 0.4-1.2 กรัม หรือน้ำมันกระเทียม 5 กรัม หรือสารสกัดกระเทียม 300-1000 มิลลิกรัมต่อวัน

 

ความปลอดภัยที่ควรคำนึงถึง

แม้ว่ากระเทียมจะถูกนำมาใช้ปรุงอาหารอย่างแพร่หลาย หากแต่การบริโภคกระเทียมมากเกินไป นอกจะทำให้กลิ่นปากฉุนแล้ว ยังอาจก่อผลข้างเคียง ได้แก่ การแพ้กระเทียม อาการคลื่นไส้อาเจียน หรือปวดจุกลิ้นปี่ รวมทั้งท้องเสียได้

นอกจากนี้การศึกษาในสัตว์ ทดลองและมนุษย์ยังมีรายงานว่ากระเทียมเพิ่มอินสุลิน (insulin) ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้ กระเทียมสามารถทำปฏิกริยากับยาหรือสารเคมีต่างๆ ในร่างกายได้ โดยเฉพาะยาต้านไวรัสเอช ไอ วี (antiretroviral agents) กระเทียมทำให้การแข็งตัวของเลือดลดลง จึงไม่แนะนำในสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดและผู้ป่วยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด กระเทียมอาจปนเปื้อนสารพิษจากแบคทีเรียบางชนิดได้ เช่น แบคทีเรียโบทูลินัม (Clostridium botulinum) ทำให้เกิดพิษเมื่อ รับประทานได้

นอกจากนี้ ตัวกระเทียมเองยังมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคือง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองทางเดินหายใจในผู้ป่วยหอบหืด  ทำให้อาการกำเริบ หรือกระตุ้นอาการปวดท้องในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร รวมทั้งกระตุ้นการระคายเคืองผิวหนังเมื่อนำ มาทาผิวด้วย

 
   

สั่งซื้อสินค้า คลิก!

 ที่มา : สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์