07_[ขนาดดั้งเดิม_.webp

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีปัญหาในการเริ่มต้นการออกกำลังกาย เช่น กลัวว่าออกกำลังกายจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย รู้สึกอ่อนเพลียง่ายจึงไม่อยากออกกำลังกาย หรืออยากออกกำลังกายแต่ไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นอย่างไร หากผู้ป่วยและญาติมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง จะส่งผลผู้ป่วยได้รับประโยชน์เต็มที่จากการออกกำลังกายได้

ผู้ป่วย-ออกกำลังกาย_[ขนาดดั้งเดิม].webp

ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

  • ช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง เช่น อาการอ่อนเพลีย ปวด กล้ามเนื้อลีบ ฯลฯ
  • ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง เช่น ลดความเครียด ลดความกังวล ลดโรคซึมเศร้า ฯลฯ
  • ช่วยทำให้ผู้ป่วยมะเร็ง มีความมั่นใจในตัวเอง และรู้สึกดีกับตัวเอง มากขึ้นได้
  • มีแนวโน้มช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม
  • มีแนวโน้มช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้

การประเมินตนเองก่อนออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

หากมีภาวะดังต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย

  • โรคหัวใจ เช่น หัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ กำลังได้รับยาโรคหัวใจ และโรคหัวใจที่แพทย์เคยแนะนำว่า ควรออกกำลังกายภายใต้คำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
  • มีอาการเจ็บอกในขณะที่อยู่เฉยๆหรือในขณะออกกำลังกาย
  • มีความดันโลหิตสูง กำลังได้รับยาลดความดัน หรือความดันโลหิตต่ำจนทำให้หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่าทาง
  • เวียนศีรษะ สูญเสียการทางตัว หรือเคยมีประวัติหมดสติ
  • มีปัญหาด้านกระดูกและข้อ ที่มีอาการแย่ลงเมื่อออกกำลังกาย หรือเป็นโรคมะเร็งลามไปที่กระดูก
  • ก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดเลือด ไขสันหลัง ลำไส้ หรือกระเพาะปัสสาวะ
  • มีน้ำในช่องอก ช่องท้อง ช่องหัวใจ ที่ทำให้เหนื่อยง่ายหรือเคลื่อนไหวลำบาก
  • มีระดับของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ต่ำกว่าปกติ
  • มีภาวะติดเชื้อ เช่น มีไข้ หนาวสั่นหรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • มีระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ
0112_[ขนาดดั้งเดิม].webp

หลักการออกกำลังกายในผู้ป่วยมะเร็ง

หลังการรักษามะเร็ง ร่างกายต้องใช้เวลาพักฟื้น สักช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาออกกำลังกายจนแข็งแรงเท่าเดิมได้ เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ขอให้ทำอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายอย่างหักโหมทันที จะทำให้ร่างกายเครียดและอ่อนล้าโดยไม่จำเป็น ออกกำลังกาย เท่าที่รู้สึกว่าตัวเอง ไหว ระหว่างวัน พยายาม หลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนเฉยๆ เป็นเวลานานๆ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ แม้ว่าผู้ป่วยจะออกกกำลังกายทุกวันก็ตาม ให้พยายาม ออกกำลังกายอะไรก็ได้แม้เล็กน้อย ยังส่งผลดีต่อสุขภาพ ดีกว่าไม่ออกกำลังกายเลย

023_[ขนาดดั้งเดิม].webp

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายในผู้ป่วยมะเร็ง

ด้านภูมิคุ้มกัน

ผู้ป่วยที่ยังอยู่ในช่วงรับการรักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะหลังผ่าตัดหรือระหว่างการได้รับยาเคมีบำบัด มักมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ควรรักษาความสะอาดให้ดี หากเกิดการติดเชื้ออาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่ชุมชน ที่พลุกพล่าน ควรเลือกสถานที่ออกกำลังกายที่สะอาด และควรล้างมือบ่อยๆ หากมีไข้หรือหนาวสั่น ควรงดออกกำลังกายและปรึกษาแพทย์


ด้านระบบประสาท

หากเส้นประสาทส่วนปลายผิดปกติ อาจมีอาการชาปลายมือปลายเท้า อาจเกิดแผลทั้งที่ไม่รู้สึกเจ็บ ให้หมั่นตรวจดูมือเท้าบ่อยๆ หากระบบประสาทการทรงตัวผิดปกติ อาจสูญเสียการทรงตัวและหกล้มได้ง่าย ควรเพิ่มความระมัดระวังระหว่างการออกกำลังกาย และแนะนำให้ฝึกกายภาพเรื่องการทรงตัว


ด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ

ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยมะเร็ง เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากมะเร็งลามไปกระดูก อาจเกิดจากการฉายรังสีที่กระดูก การได้รับยาสเตียรอยด์ระหว่างการรักษามะเร็ง กระดูกบางจากการที่ผู้ป่วยไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือได้รับการรักษามะเร็งด้วยยาต้านฮอร์โมนเพศ เช่น การได้ยาต้านฮอร์โมนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น


ควรระมัดระวังการหกล้มระหว่างการออกกำลังกาย

  1. ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก และยกของในท่าที่ถูกต้อง
  2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกระทบกระแทก หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดการบิดกระดูกส่วนนั้นอย่างรวดเร็ว
  3. ภาวะกล้ามเนื้อลีบ ป้องกันได้โดยพยายามบริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อลีบและอาการอ่อนแรง ที่เกิดจากการไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อนั้นเป็นเวลานานๆ
  4. ภาวะบวมน้ำเหลือง ที่พบได้บ่อย คือ แขนบวมน้ำเหลืองหลังการรักษามะเร็งเต้านม
  5. สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในท่าที่มีการห้อยแขนข้างที่มีอาการเป็นเวลานานๆ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการขยับแขนข้างนั้นซ้ำๆ เช่น การกวาดบ้าน/ถูบ้าน ตีแบดมินตัน ว่ายน้ำ เป็นต้น หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกแขนข้างนั้น และไม่ควรออกกำลังกายหักโหม
  6. หลีกเลี่ยงการใส่ชุดออกกำลังกายที่รัดต้นแขนแน่น รวมถึงน้ำหนักกดทับบริเวณต้นแขน
  7. ภาวะบวมน้ำเหลืองเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ ดังนั้นควรระมัดระวังไม่ให้เกิดแผลที่แขนข้างนั้นระหว่างการออกกำลังกาย

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกไม่ค่อยอยากเริ่มออกกำลังกาย

  • เลือกชนิดการออกกำลังกายที่ชอบ จะทำให้สามารถออกกำลังกายได้สม่ำเสมอ แต่ควรสับเปลี่ยนชนิดออกกำลังกายบ้าง เพื่อไม่ให้ซ้ำซากจำเจ
  • ฟังเพลงที่ชอบระหว่างการออกกำลังกาย ทำให้มีความสุขกับการออกกำลังกายมากขึ้น
  • มีเพื่อนร่วมออกกำลังกาย จะทำให้ออกกำลังกายได้สม่ำเสมอมากขึ้น
  • เลือกออกกำลังกายในช่วงที่รู้สึกสดชื่นมากที่สุดของวัน โดยเริ่มออกกำลังกายเบาๆ ช่วงสั้นๆ ก่อนในช่วงแรก
  • จดบันทึกการออกกำลังกายในแต่ละวัน จะทำให้มีแรงจูงใจมากขึ้นในการออกกำลังกาย เช่น ยกขาได้กี่ครั้ง เดินได้กี่นาที เป็นระยะทางเท่าไร และควรจดระดับความเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกายแต่ละประเภท แต่ละช่วงเวลาของวัน เพื่อวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละคน
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน และควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม
032_[ขนาดดั้งเดิม].webp
  1. มีเหตุผลที่ชัดเจน ว่าทำไมถึงอยากออกกำลังกาย และทบทวนบ่อยๆ
  2. ตั้งเป้าหมายแรก ให้เป็นเป้าหมายที่ทำได้ง่าย ทำได้จริง เพื่อกำลังใจในการพัฒนาสู่เป้าหมายต่อไป
  3. มองหากิจกรรมที่ช่วยเพิ่มการออกกำลังกายในวิถีของชีวิตประจำวัน เพื่อจะได้ทำได้ทุกวัน
  4. พยายามอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่รักการออกกำลังกาย อยู่ในบรรยากาศของความกระปรี้กระเปร่า
  5. ค่อยๆเพิ่มการออกกกำลังกายทีละเล็กน้อย ตามกำลังของตนเอง จะทำให้ออกกำลังกายได้สม่ำเสมอมากกว่า


**หลังจากผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งแล้ว ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การเริ่มต้นออกกำลังกายในชีวิตจริง หากพบปัญหาควรปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน และกลับมาออกกำลังกายต่อไป โดยยึดหลักสำคัญคือ ค่อยเป็นค่อยไป แต่ขอให้ทำอย่างสม่ำเสมอ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ