ชาวมะเร็ง เตรียมเฮ!!

พบสารสำคัญช่วยต้านมะเร็งในเห็ดทางการแพทย์

พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide)

เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาเป็นแหล่งสำคัญของ พอลิแซ็กคาไรด์ หลายชนิดมีฤทธิ์ต่อการทำงานของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนใหญ่เป็น พอลิแซ็กคาไรด์ ที่พบเป็นโฮโมไกลแคน (homoglycan) คือ พอลิแซ็กคาไรด์ ที่ประกอบด้วยมอนอแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) ชนิดเดียวหรือเฮเทอร์โรไกลแคน (heteroglycan) พอลิแซ็กคาร์ไรด์ที่ประกอบด้วยมอโนแซ็กคาไรด์ 2 ชนิด หรือมากกว่าและสามารถรวมกับโปรตีนเพื่อสร้างเปปทิโดไกลแคน (peptidoglycan) หรือสร้างพอลิแซ็กคาไรด์เชิงซ้อน (polysaccharide protein complex) จากการรายงานพบพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีฤทธิ์ต่อการทำงานของเซลล์ในภูมิคุ้มกันเพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งครั้งแรก ได้แก่ เลนทิแนน (lentinan) เบต้าหนึ่งสามดีกลูแคนต่อด้วยกิ่งเบต้าหนึ่งหก (β-1,3-D-glucan with β-1,6 branched) ที่ได้จากการสกัดจากเห็ดหอมในประเทศญี่ปุ่นปี ค.ศ.1969

ต่อมามีการรายงานการค้นพบพอลิแซ็กคาไรด์ชนิดใหม่ ที่มีฤทธิ์ต่อการทำงานของเซลล์ในภูมิคุ้มกันที่สกัดได้จากดอกเห็ดต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยมา จนถึงปลายปี ค.ศ. 1980 พบพอลิแซ็กคาไรด์ชนิดเบต้ากลูแคน 2 ชนิด คือ ชิโซไฟลแลน (schizophyllan) ที่สกัดได้จากดอกเห็ดตีนตุ๊กแกหรือเห็ดแครง (Schizophyllum commune) และพอลิแซ็กคาไรด์เครสทินหรือพีเอสเค (Polysaccharide Krestin, PSK) สกัดจากดอกเห็ดขอนหลากสีหรือเห็ดหางไก่งวง (Trametes versicolor) ซึ่งพบว่าเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดี

โครงสร้างของสารเบต้ากลูแคน (β-glucanstructure)

สารเบต้ากลูแคน (β-glucan) คือสารประกอบน้ำตาลหลายโมเลกุล ที่เรียกว่า พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ซึ่งประกอบด้วย น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว คือ น้ำตาลกลูโคส (D-glucose) เชื่อมโยงกันด้วยพันธะเบต้าไกลโคซิดิก (β-glycosidic) สารเบต้ากลูแคนจะมี 1,3 β-glucan เป็นโครงสร้างหลักบริเวณกลาง (backbone) และมีสายแตกแขนงกิ่งออกมา (branch) 1,4 β-glucan หรือ 1,6 β-glucan สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า 1,3/1,4 β-glucan หรือ 1,3/1,6 β-glucan

ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารบีตากลูแคน (Biological activity of β-glucan)

1. ฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกัน (Immunomodulation activity)

  • สารเบต้ากลูแคน ที่สกัดได้จากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ แมคโครฟาจ (macrophage), interleukin-1 และ tumor necrosis factor พบว่าภายหลังการให้สารเบต้ากลูแคนเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ในหนูทดลอง พบว่า ตับ ม้าม และลำไส้เล็ก มีเซลล์ในระบบภูมิกันเพิ่มขึ้นทั้งขนาดและจำนวน คือ macrophage, Natural Killer cell (NK-cell), mononuclear cell
  • สารเบต้ากลูแคนจากเห็ดนางฟ้า (Pleurotus florida) การทดลองนี้ ในหลอดทดลอง (In vitro) ในเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อให้สารเบต้ากลูแคนพบว่า เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพิ่มขึ้นทั้งขนาดและจำนวน คือ แมคโครฟาจ (macrophage), splenocyte, thymocyte
  • การทดสอบฤทธิ์กระต้นระบบภูมิคุ้มกันจากสารเบต้ากลูแคนที่ได้จากเห็ดชิตาเกะ (Gridola frondosa) ที่ทำการทดสอบฤทธิ์ในผู้ป่วยมะเร็งในระยะที่ 2-4 และมีอายุ 22-57 ปี พบว่าภายหลังการรับประทานสารเบต้ากลูแคนต่อเนื่องกัน 50 วัน อาการทางคลินิกของผู้ป่วยดีขึ้น ทั้งในผู้ป่วยมะเร็งตับ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด ร้อยละ 58.3 , 68.8 , 62.5 ตามลำดับ
  • การวิจัยของ (Alaubydi et al., 2011) ทำการศึกษาของสารเบต้ากลูแคนในหนูทดลอง พบว่าหลังจากให้สารเบต้ากลูแคนเป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่า ตับ ม้าม และลำไส้เล็กของหนู มีเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน คือ แมคโครฟาจ (macrophage), NK-cell และ Mononuclear cell เพิ่มทั้งขนาดและจำนวน

2. ฤทธิ์การยับยั้งเนื้องอก (Anti-tumor activity)

  • พบฤทธิ์ในการยับยั้ง Sacroma 180 solid cancer และ Ehrlish solid cancer จากสารเบต้ากลูแคนที่ได้จากเห็ดในกลุ่ม Basidiomycetes และพบคุณสมบัติในการยับยั้งเนื้องอก เช่น การยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดและป้องกันการแพร่กระจายของเนื้องอก
  • การวิจัยของ (Gao et al., 2003) ที่ศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการเกิดเนื้องอกของสารเบต้ากลูแคนจากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็ง ผลการทดลองพบว่า หลังจากให้สารเบต้ากลูแคนเป็นเวลา 12 อาทิตย์ ปริมาณของ Interleukin-2 (IL-1) , interleukin-6 (IL-6) และ IFN-GAMMA ในเลือดเพิ่มขึ้น

3. ฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammation activity)

  • สารเบต้ากลูแคนที่สกัดได้จากเห็ดนางฟ้าภูฐาน (Pleurotus pulmonarius) มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบในหนูทดลอง ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบด้วย formalin เมื่อเปรียบเทียบกับยา diclofenac
  • ผลจากการศึกษาฤทธิ์ในการต้านการอักเสบของเบตากลูแคนในเห็ด Lactarius rufus (Ruthes et al., 2013) โดยทดลองในหนู Swiss mice ขนาด 25-35 กรัม และทำการฉีด 20 µL ของ 2.5 %formalin solution เข้าไปยังผังผืดใต้อุ้งเท้าขวาด้านหลังของหนู เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบของอุ้งเท้าของหนู ผลการทดลองพบว่า β-glucans ชนิดต่างๆ ที่ทำการทดลองภายในงานวิจัยนี้ สามารถลดอาหารปวดที่เกิดจากระบบประสารท อย่างไรก็ตามพบว่า สารเบต้ากลูแคนมีประสิทธิภาพมากกว่าในการต้านความเจ็บปวดที่เกิดจากการอักเสบ

(ปัจจุบันมีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นพิษหรือความปลอดภัยในการใช้สารเบต้ากลูแคนที่ได้จากเห็ดจำนวนน้อยและยังเป็นข้อมูลที่ทดลองในสัตว์ทดลอง)

สารเบต้ากลูแคน (β-glucan) เป็นสารจําพวกพอลิแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ที่ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสจำนวนมาก พบได้ทั้งใน ยีสต์ เห็ด ข้าวโอ๊ต และข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น ในปัจจุบันพบว่า มีการนําสารเบต้ากลูแคนมาใช้กันเป็นจํานวนมาก ทั้งใช้เพื่อการบริโภค และใช้เป็นโภชนเภสัช (nutraceutical) ซึ่งหมายถึงอาหารที่มีฤทธิ์ทางยา


จากการศึกษาพบว่า สารเบต้ากลูแคน มีฤทธิ์ในการเพิ่มการทํางานของระบบภูมิคุ้มกนของร่างกาย (Wasser, 2002; Pelizon et al., 2005;Alaubydi and Abed, 2011) สารเบต้ากลูแคน มีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการเกิดเนื้องอกและการเกิดมะเร็ง (Lin and Zhang, 2004) สารเบต้ากลูแคนยังมีฤทธิ์ลดระดับไขมัน และระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด (Chen and Raymond, 2008; Dong et al., 2011; Othman et al., 2011) และนอกจากนั้นยังพบว่าสารเบต้ากลูแคนมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ (Kim et al., 2007) ต้านการติดเชื้อแบคทีเรีย (Hetland et al., 2013) รา (Vediyappan et al., 2011; Mitchell et al., 2013) ไวรัส(Gao et al., 2003) และปรสิต (Yun et al., 2003) ได้อีกด้วย

เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาที่พบสาร "พอลิแซ็กคาไรด์" ที่มีฤทธิ์ต่อการทำงานของเซลล์ในภูมิคุ้มกัน

ชื่อไทย

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ

ฤทธิ์ต่อการทำงานของเซลล์ในภูมิคุ้มกัน

เห็ดเข็มทอง

(Golden needle mushroom)

Glyoprotein, peptidoglycan, (FVP)

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไนโตรเจนออกไซด์ (NO) อินเตอร์ลิวคินหนึ่ง (IL-1) และทีเอ็นเอฟแอลฟา (TNF-α)

เห็ดหลินจือ

(Reishi, Ligzhi, spirit plant)

50 types of polysaccharide, Ganoderan, Heteroglycan, manoglucan, glycopeptide

กระตุ้นการทำงานของทีเอ็นเอฟแอลฟา (TNF-α) อินเตอร์ลิวคินหนึ่ง (IL-1) อินเตอร์ลิวคินแกมมา (TNF- γ) และเอ็นเอฟเคบีตา (NF-kβ)

เห็ดไมตาเกะ

(Hen of the woods, Maitake)

Grifolan (1-6-monoglucosyl-branched β-1, 3-D-glucan), proteoglycan, heteroglycan, galactomannan

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแมโครฟาจอินเตอร์ลิวคินหนึ่งและอินเตอร์ลิวคินหก (IL-1, IL-6) และทีเอ็นเอฟแอลฟา (TNF-α)

เห็ดหอม

(Shitake, black forest mushroom, golden oak mushroom)

Lentinan, glucan, mannoglucan, proteoglycan

ส่งเสริมการสร้างไซโตไคน์และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแมโคฟาจ

เห็ดนางฟ้า

(Oyster mushroom)

Pleuran, heteroglactan, proteoglycan

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินเตอร์ลิวคินสี่ (IL-4) และอินเตอร์ฟีรอนแกมมา (IFN- γ)

อ้างอิง: ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล, สารปรับปรุงภูมิคุ้มกันจากเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา

Immunomodulators form Medicinal Mushroom, วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ปีที่ 46 เล่มที่ 3 (2561):402-404

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ