อาหารจานหลัก
เมนูอาหารจานหลัก
เมนูอาหารแนะนำ สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ในช่วงระหว่างการบำบัดรักษาด้วยการผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด
เมนู ต้มข่าปลานึ่งนมสด
อาหารอ่อนสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
ปลาดอรี่เมื่อนำมานึ่งจะมีเนื้อสัมผัส
นิ่ม ย่อยง่าย เมนูนี้ได้โปรตีนจากทั้ง
เนื้อปลาและนมสด ทั้งยังมีสมุนไพร
จากข่าช่วยให้เจริญอาหารด้วย
ลูกชิ้นหมูนิ่ม
อาหารอ่อนสำหรับผู้ป่วยกลืนลำบาก
ผ่าตัด รับเคมีบำบัด/รังสีรักษา หรือผู้ป่วย
ที่ต้องถอนฟันก่อนการรับรังสี เนื่อสัมผัสนิ่ม
ละลายในปาก กลืนง่ายโดยแทบไม่ต้องเคี้ยว
อุดมไปด้วยโปรตีนจากเนื้อหมู วิตามินและ
ใยอาหารจากบรอกโคลีและแครอตสามารถ
รับประทานเป็นอาหารว่างหรือคู่กับโจ๊กหรือก๋วยเตี๋ยวได้
อาหารทะเลเป็นแหล่งสำคัญของแร่ธาตุ
จำเป็น ได้แก่ ทองแดง ธาตุเหล็ก สังกะสี
ซีลีเนียม แร่ธาตุเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างภูมิ
คุ้มกันในการป้องกันและต่อต้านโรคมะเร็ง
ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ต้านอนุมูลอิสระ และกำจัดเซลล์มะเร็งได้
ซุปนี้เพิ่มความหอมหวานด้วยน้ำมะพร้าวและ
เนื้อมะพร้าวตัดกับความหอมของตะไคร้ อร่อย
แบบมีคุณค่า
เมนูเคี้ยวง่ายสำหรับผู้ป่วยที่ยังเคี้ยวลำบาก
หลังจบการรักษา เพราะสูญเสียฟันตอนรักษา
มะเร็งปลาดอรี่เมื่อนำมานึ่งจะนิ่มมากแทบไม่
ต้องเคี้ยว กลืนง่าย และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย
เหมาะกับผู้ที่เคยรักษามะเร็งและประสบผลข้าง
เคียงในการกลืนหรือย่อยอาหารด้วย
ได้โปรตีนสูง และย่อยง่าย เลือกเนื้อ
ส่วนอก ที่มีไขมันต่ำและปรุงด้วยการ
นึ่งจัดเป็นเมนูเนื้อสัตว์ที่ค่อนข้างปลอด
ภัยต่อการเกิดสารก่อมะเร็ง เนื้อไก่มีธาตุ
เหล็กชนิด heme iron ซึ่งร่างกายดูดซึม
นำไปใช้ได้ดี และ วิตามินบี 12 ซึ่งเป็นสิ่งที่
ไม่พบในพืช รับประทานคู่กับผักใบเขียวจะ
ได้ใยอาหารเพิ่มอีกด้วย
ไก่อบซอสองุ่น
เนื้ออกไก่เป็นส่วนที่ไขมันน้อยแต่
โปรตีนสูงการผ่านความร้อนด้วย
วิธีอบเป็นตัวอย่างของวิธีประกอบ
อาหารที่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง
หรือก่ออนุมูลอิสระน้อยกว่าวิธีย่าง
หรือทอดรับประทานกับซอสองุ่นซึ่ง
อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
เช่น เรสเวอราทรอล และรับประทาน
กับผักกาดซึ่งช่วยกระตุ้นการจำกัด
สารก่อมะเร็ง ถือเป็นเมนูตามหลัก
การสร้างความสมดุล
เมนูนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ป่วย
มะเร็ง ที่ทานอาหารอ่อน กลืนลำบาก
ผ่าตัด รับเคมีบำบัด/รังสีรักษา ขิง,ไข่
และปลาแซลมอนเหมาะแก่การฟื้นฟู
สุขภาพร่างกายมีกรดไขมันจำเป็น
และแร่ธาตุเหล็ก ซีลีเนียม และสังกะสี
อีกทั้งยังได้วิตามินและใยอาหารจาก
บรอกโคลีและแครอตสับ
ตับเป็นแหล่งรวมของธาตุเหล็ก
วิตามินบี 12 ช่วยป้องกันภาวะโลหิต
จางระหว่างช่วงของการรักษามะเร็ง
โดยเมนูนี้จะใช้พริกหวานสีแดงแทนพริกขี้หนู
จึงไม่เผ็ดแต่ยังคงสีสันที่สวยงามน่ารับประทาน
เมนูโปรตีนสูงจากไข่ขาวและเนื้อหมู
เหมาะสำหรับคนชอบผัดกะเพราแต่
ต้องรับเคมีบำบัด / รังสีรักษามะเร็ง
ทำให้มีอาการแสบร้อนในปากรับประ
ทานเผ็ดไม่ได้เมนูนี้ไม่เผ็ดแถมมีสีสัน
น่ารับประทานอีกทั้งพริกหวานสีแดง
ยังมีวิตามินซีสูงอีกด้วยส่วนไข่ขาวนึ่งมี
เนื้อสัมผัสนิ่มเหมาะกับคนที่กลืนยาก
ลำบากต่อการเคี้ยว
เต้าหู้ทอด ซอสญี่ปุ่น
อาหารอ่อนแบบมังสวิรัติ ใช้วัตถุดิบเป็นข้าวกล้อง
และเต้าหู้ (ที่ทำจากถั่วเหลือง) เพื่อให้ได้
กรดแอมิโนจำเป็นครบเหมือนเนื้อสัตว์
ได้ประโยชน์จากโปรตีนในไข่ขาว และ เบต้าแคโรทีนใน
ฟักทองช่วยเสริมภูมิคุ้มกันระหว่างรับรังสี/เคมีบำบัด
เมนูมังสวิรัติสำหรับผู้ที่เคยเป็นมะเร็งและ
รักษาจบไปแล้วโปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญ
ในการฟื้นฟูสุขภาพและเสริมภูมิต้านทาน
เมนูนี้เป็นมังสวิรัติซึ่งใช้หลักการผสมผสาน
เพื่อให้ได้กรดแอมิโนจำเป็นครบถ้วน
การรับประทานอาหารตำรับเมดิเตอร์เรเนียน
สามารถลดการเป็นมะเร็งซ้ำของมะรเ็งสำไส้ได้
โดยอาหารตำรับนี้จะมีองค์ประกอบหลัก คือ
น้ำมันมะกอก มะเขือเทศ และเนื้อสัตว์
ไขมันต่ำ เสริมด้วยบรอกโคโลนี ซึ่งเป็นผักที่เกิด
จากการผสมพันธุ์ระหว่างบรอกโคลีกับคะน้า
มีรายงานวิจัยว่ามีสารพฤกษาเคมีที่ช่วยต้าน
การเกิดโรคมะเร็ง
การรับประทานผักใบเขียวเป็นประจำ
อาช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้โรคมะเร็ง
กลับมาเป็นซ้ำอีก เมนูนี้เพิ่มคุณค่าทาง
โภชนาการด้วยโปรตีนจากเห็ดเออรินจิ
แถมยังเป็นเมนูมังสวิรัติอีกด้วย
เป็นเมนูเสริมภูมิต้านทานเพื่อป้องกัน
การเป็นมะเร็งซ้ำโดยได้โปรตีนและซีลีเนียม
จากปลาทูและไข่ไก่ เบต้าแคโรทีนจาก
แครอต และวิตามินซีจากน้ำมะขาม
ไข่ขาวมีโปรตีนอัลบูมินซึ่งมีกรดแอมิโน
ครบถ้วนเหมาะจะรับประทานเพื่อเสริม
โปรตีนระหว่างรับเคมีบำบัดหรือรังสี
รักษาจึงสามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ให้ร่างกาย ส่วนปลาทูน่า มีกรดไขมัน
จำเป็นต่อร่างกาย
เมนูปลาเป็นเมนูที่ลดความเสี่ยงต่อ
การกลับมาเป็นโรคมะเร็งซ้ำ ผสานกับ
คุณสมบัติของตะไคร้ สตรอว์เบอรี
และหอมเล็ก เป็นเมนูที่ผสานกลิ่นหอม
แบบสมุนไพรกับผลไม้พร้อมประโยชน์ทวีคูณ
การนึ่งปลาจะคงคุณค่าทางโภชนาการ
ได้ดีและเป็นวิธีประกอบอาหารที่ค่อนข้าง
ปลอดสารก่อมะเร็ง
จากรายงานวิจัยหลายฉบับสรุปผลว่า
การรับประทานปลาเฉลี่ยสัปดาห์ละ
1-2 ครั้งทุกสัปดาห์และการรับประทาน
ใยอาหารจากผักผลไม้ก็อาจช่วยลด
ความเสี่ยงไม่ให้โรคมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ
อีกเมนูนี้สร้างสรรค์โดยใช้การอบแทน
การย่างเพื่อคงคุณค่าอาหารและผสมผสาน
รสชาติจัดจ้าน ของพืชสมุนไพรอย่าง
กระเทียม พริกไทย และผักชี ให้ตัดกับ
รสหวานอมเปรี้ยวของสลัดผลไม้อย่างลงตัว
อาหารอ่อนสำหรับผู้ป่วยกลืนลำบาก
ผ่าตัด รับเคมีบำบัด/รังสีรักษา
มีโปรตีนจากทั้งไข่และปลาแซลมอม
เหมาะแก่การฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย
ปลาแซลมอนมีกรดไขมันจำเป็นและ
แร่ธาตุเหล็ก ซีลีเนียม และสังกะสี
อีกทั้งยังได้วิตามินและใยอาหารจาก
บรอกโคลีและแครอตสับด้วย
เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ยังกลืน
อาหารอ่อนไม่ไหวแต่ยังสามารถดื่ม
น้ำได้โดยไม่สำลักสูตรนี้เป็นสูตรที่
เสริมวิตามินและใยอาหารด้วยมะเขือเทศ
และแตงกวาซึ่งเข้ากันได้ดีช่วยให้ความ
สดชื่นเวลารับประทานเมื่อจัดใส่จาน
จะดูคล้ายๆซุป ใช้ช้อนตักรับประทานได้
ทันทีสามารถแบ่งรับประทานครั้งละ
3-4 ครั้ง ภายใน 1 วัน