มะเร็งรังไข่
มะเร็งรังไข่
รังไข่ (Ovary) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานสองข้างของ มดลูก มีหน้าทีผลิตไข่ (Egg/Ovum) สําหรับใช้ในการสืบพันธุ์ไข่ที่ถูกผลิตมาจะเดินทางจากรังไข่ผ่านท่อนําไข่ (Follopian Tubes) ไปที่มดลูก (Uterus) เพื่อที่จะเกิดการ ปฏิสนธิและเติบต่อเป็นตัวอ่อนต่อไป
มะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากการผิดปกติของเซลล์ที่แบ่งตัวต่อเนื่องโดยไม่สามารถควบคุมได้ มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่ เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ (Ovary) หรือท่อนําไข่ (Fallopian Tube) ทําให้รังไข่มีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดมีการแพร่กระจายซึ่งมักกระจายไปตามเยื่อบุช่องท้องหรือเข้าสู่กระแสเลือดหรือทางเดินนํ้าเหลืองจนไปปรากฏยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น อุ้งเชิงกราน, ปอดหรือตับ เรียกมะเร็ง รังไข่ระยะนี้ว่า “ระยะแพร่กระจาย (Metastasis)”
ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่
สาเหตุที่แท้จริงของโรคมะเร็งรังไข่ยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่แต่ก็ยังมีผู้ปู่วยยบางรายที่เป็นโรคโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
- สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งโดยเฉพาะมารดาพี่สาว/น้องสาว
- อายุที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะอายุมากกว่า 50 ปี มีประวัติเคยเป็น
- มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้ขึ้นไป พี่สาว/น้องสาว
- มีประวัติเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ (endometriosis) หรือช็อคโกแลตซิสต
- รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานาน
- การสูบบุหรี่
อาการที่อาจบ่งบอกว่าเป็นโรคมะเร็งรังไข่
มะเร็งรังไข่ระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้อาเจียน
- น้ำหนักขึ้นหรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปัสสาวะบ่อย
- อาหารไม่ย่อยท้องอืดท้องเฟ้อ
- รู้สึกเหนื่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ท้องเสียหรือท้องผูกเรื้อรัง
- รู้สึกปวดท้องหรือปวดในอุ้งเชิงกราน
- มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
- รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง
- รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นหลังรับประทานอาหาร
อาการทั้งหลายเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งรังไข่หรืออาจเป็นโรคอื่น หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหาสาเหตุของอาการต่างๆ ต่อไป
การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันในผู้ที่อาจมีความเสี่ยง
ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกรองเฉพาะสำหรับการป้องกันมะเร็งรังไข่ เนื่องจากมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ ดังนั้น วิธีที่พอจะช่วยให้พบรอยโรคแต่เนิ่นๆ ได้แก่
- ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอดเพื่อดูลักษณะและขนาดของรังไข่รวมทั้ง ปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่
- ใส่ใจสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
- ตรวจภายในประจำปี
- ตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารที่สร้างจากมะเร็งรังไข่ คือ สาร CA-125
* ตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารที่สร้างจากมะเร็งรังไข่ คือ สาร CA-125 ซึ่งอาจจะสูงขึ้นในมะเร็งรังไข่บางชนิดด้วยความระมัดระวังเพราะค่านี้อาจปกติในมะเร็งรังไข่บางชนิด และ อาจจะสูงขึ้นได้ในภาวะ เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ตับอักเสบ การอักเสบในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุมดลูเจริญผิดที่เนื้องอกของมดลูก ตั้งครรภ์และการมีประจำเดือน เป็นต้น
แนวทางการตรวจวินิจฉัย โรคมะเร็งรังไข่
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในกาเกิดโรคมะเร็งรังไข่ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อจะดำเนินการค้นหามะเร็งตั้งแต่เริ่มแรกแพทย์และทีมผู้ดูแลสุขภาพจะเป็นผู้แนะนำถึงการตรวจต่างๆ เวลาที่เหมาะสมในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัย รวมถึงการติดตาม
เนื่องจากอาการนำของโรคมะเร็งรังไข่ไม่จำเพาะเจาะจง และมีความคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบอื่นๆ เช่น ระบทางเดินอาหาร หรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ตรวจวินิจฉัยได้ล่าช้าและมัตรวจพบเมื่อโรคมีการลุกลามออกไปทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
- การซักประวัติครอบครัว ประวัติทางพันธุ์กรรม หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่หรือเต้านมให้ตรวจพันธุ์กรรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
- ตรวจร่างกายและตรวจภายใน เพื่อตรวจหารอยโรคก้อนมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเช่น หากพบว่ามีก้อนในอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณปีกมดลูก
- การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) มีประโยชน์ในการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ในระยะแรก ใช้เพื่อตรวจหาลักษณะและตำแหน่งของตัวก้อน
- การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) เช่น CA-125 หรือชนิด อื่นตามข้อบ่งชี้ เช่น CA19-9, CEA, HE4
- การตรวจด้วยรังสีวินิจฉัย เช่น เอกซเรย์ปอด CT หรือ MRI ช่วยในการวินิจฉัยและดูการแพร่กระจายของโรค เพื่อวางแผนการรักษา
- การตรวจชิ้นเนื้อ ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
ระยะของโรคมะเร็งรังไข่
ระยะที่ 1: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง
ระยะที่ 2: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และเซลล์มะเร็งมีการแพร่ กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ รังไข่ แต่ยังอยู่ภายในเยื่อบุอุ้งเชิงกราน
ระยะที่ 3: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังเยื่อบุช่องท้องด้านบนหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง
ระยะที่ 4: เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น ตับ ปอด เป็นต้น
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งรังไข่
สำหรับการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงชนิดของมะเร็งรังไข่, ตำแหน่งที่อยู่, ความรุนแรงของโรคและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย การพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งสำคัญก่อนที่จะตัดสินใจ เพื่อการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้การรักษาโดยกาผสมผสานกันของการผ่าตัด และการให้ยาเคมีบำบัด
สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ การเลือกยาในการรักษามะเร็งนั้น อาจมีความแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน เพราะถึงแม้ว่าคนไข้จะเป็นมะเร็งชนิดเดียวกันแต่ลักษณะการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งอาจมีความแตกต่างกัน
ดังนั้นการตรวจหาการกลายพันธุ์ในเซลล์มะเร็งของคนไข้ด้วย การตรวจยีนมะเร็งอย่างครอบคลุม (Comprehensive Genomic Profiling) จะช่วยให้แพทย์และคนไข้สามารถร่วมกันวางแผนการรักษาและเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดกับคนไข้ได้อย่างเหมาะสม
1. การผ่าตัด (Surgery)
การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งรังไข่ ซึ่งสมควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางมะเร็งนรีเวช จุดมุ่งหมายหลักของการผ่าตัดคือ เอาก้อนมะเร็งออกจากตัวผู้ป่วยให้มากที่สุด ซึ่งลักษณะการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวก้อน ต่ำแหน่งของตัวก้อนบริเวณเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไป
หากแพทย์วินิจฉัยว่าเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตในรังไข่ ยังไม่มีการลุกลามมากจนไม่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบๆ ออกโดยส่วนมากผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่มักได้รับการผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะเหล่านี้ออก ได้แก่ รังไข่ทั้งสองข้าง ท่อนำไข่ มดลูก รวมถึงบริเวณปากมดลูกอาจผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองและเยื่อบุช่องท้องออกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
2. การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
ยาเคมีบำบัดเป็นการใช้ยา เพื่อทำลายหรือยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วทั้งร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเซลล์มะเร็ง หรือเซลล์ปกติของร่างกาย เช่น ผม เล็บ เม็ดเลือด เยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น
ในกรณีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่มจริงๆ ไม่มีการแตกของก้อนยังไม่มีการแพร่กระจายไปนอกรังไข่ การผ่าตัดอย่างเดียวอาจเพียงพอในการรักษาโดยไม่ต้องให้ยาเคมีบำบัด ในผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้วผู้ป่วยมักจะต้องได้รับยาเคมีบำบัดหลังผ่าตัดเรียกว่า “การรักษาเสริมหลังการผ่าตัด” เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่
กรณีนี้เป็นการรักษาเพื่อลดโอกาสของการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงช่วยเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยด้วยนอกจากนี้ยาเคมีบำบัดยัง ใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ในระยะแพร่กระจายหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เพื่อหยุดการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งรวมทั้งบรรเทาอาการหรือความทรมานจากโรคมะเร็งรังไข่ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด และเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยให้นานขึ้น
3. การให้ยารักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy)
ยาแบบมุ่งเป้าเป็นการรักษาโดยการใช้ยาหรือสารอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งและก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ปัจจุบันยารักษาแบบมุ่งเป้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
- ยากลุ่ม Anti-angiogenesis ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็ง และลดการสร้างน้ำในช่องท้อง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของยาฉีด
- ยากลุ่ม PARP inhibitor ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการซ่อมแซมรหัสพันธุกรรมของเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของยารับประทาน
4. การรักษาด้วยฮอร์โมน ( Hormone therapy )
การใช้ฮอร์โมหรือสารต้านฮอร์โมน เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งอาจมีผลในการช่วยชะลอหรือยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ อาจใช้ในการรักษาแบบประคับประคอง
ผลข้างเคียงจากการรักษา
ผลข้างเคียงทั่วไปของยาเคมีบำบัด เช่น เบื่ออาหาร, คลื่นไส้อาเจียน, ผมร่วง, เหนื่อยล้า,โลหิตจาง, เกล็ดเลือดต่ำ, ติดเชื้อได้ง่าย เป็นต้น
การติดตามผลการรักษา
ผู้ป่วยหลังการรักษา จะได้รับการติดตามโดยแพทย์ผู้รักษาเพื่อดูแลสุขภาพต่อไปการตรวจติดตามผลจะถี่หรือบ่อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับโรคและสภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยปกติหลังการรักษาควรพบแพทย์ทุก 3 เดือน ใน 2 ปีแรกซึ่งมีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงสุด จากนั้นเป็นทุก 6 เดือน การติดตามผลโดยปกติจะใช้การติดตามอาการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน ตรวจเลือดเพื่อหาสารติดตามผลมะเร็ง เอกซเรย์ และอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาระยะเวลาตามความเหมาะสม.
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ CANCERA คลิกที่นี่
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ / สอบถามเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
1. American Cancer Society. Ovarian Cancer. Available at: https://www.cancer.org/cancer/ovarian-cancer.html. Last accessed December 2018
2. The National Comprehensive Cancer Network, Inc. NCCN Guidelines for Patients®OvarianCancer Version 1.2017. Available at: https://www.nccn.org/patients/guidelines/ovarian/index.html. Last accessed December 2018
3. European Society for Medical Oncology (ESMO). ESMO Patient Guide Series “What is Ovarian Cancer”. Available at: https://www.esmo.org/content/download/10097/201883/file/EN-Ovarian-Cancer-Guide-for-Patients.pdf Last accessed December 2018
4.Heim D et al. Int J Cancer 2014; 135: 2362–2369
5.Baumgart M et al. Am J Hematol Oncol 2015: 11: 10–13
6.Schwaederle M, Kurzrock R. Oncoscience 2015; 2: 779–780.